วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

“ต้นเกด” หรือ “ราชายตนะ” ต้นไม้สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข

“ต้นเกด” หรือ “ราชายตนะ” ต้นไม้สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข
รูปภาพ


เกด ต้นไม้สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข

“ต้นเกด” หรือ “ราชายตนะ” 
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Manilkarahexandra (Roxb.) Dubard
 อยู่ในวงศ์ Sapotaceae
 มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 12-25 เมตร
 เรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา
 เมื่อแก่จะแตกเป็นสะเก็ดสีดำ เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง 

โพธิญาณพฤกษา ต้นซึก (ต้นสิรีสะ)

รูปภาพ

โพธิญาณพฤกษา 
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้ 


ต้นซึก (ต้นสิรีสะ)


ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย 
พุทธวงศ์ กุกกุสันธพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 25
 พระนามว่า พระกุกกุสันธพุทธเจ้า 
ผู้มีพระคุณประมาณมิได้ ยากที่จะเทียมถึง ทรงเพิกภพทั้งปวง 
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ ควงไม้ซึก 
หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม

โพธิญาณพฤกษา ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ)

โพธิญาณพฤกษา ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ) 


โพธิญาณพฤกษา 
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้ 


ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ) 


ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ กัสสปพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 27 พระนามว่า พระกัสสปพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้นิโครธ 

ต้นจิก ไม้พญานาค

ต้นจิก ไม้พญานาค

ต้นจิก ไม้พญานาค

ต้นจิก เป็นต้นไม้ที่ปัจจุบันอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก แต่มีความหมายยิ่งในพุทธศาสนา และเกี่ยวพันกับเรื่องของพญานาค ดังในพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 มุจจลินทสูตร ที่กล่าวไว้ว่า

รูปภาพ

“...สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้มุจลินท์
 ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งเสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน

โพธิญาณพฤกษา ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ)

โพธิญาณพฤกษา ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ) 

โพธิญาณพฤกษา 
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้ 


ตะเคียนที่สิงสถิตของนางไม้

ตะเคียนที่สิงสถิตของนางไม้



เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องราวของต้นตะเคียนในที่ใด ก็มักจะมีเรื่องผีสางนางไม้ประกอบมาด้วยเสมอ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาว่า ต้นไม้ขนาดใหญ่ๆ นั้น มักจะมีเทพเทวดาอารักขา หากใครคิดไปตัดหรือทำลายก็ย่อมประสบเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังเช่นต้นตะเคียนที่มีการเล่าขานกันว่า มีนางตะเคียนสิงสถิตอยู่และมีฤทธิ์มาก ดังนั้น การจะตัดต้นตะเคียนมาทำสิ่งใดก็จะต้องทำพิธีขอเสียก่อน หากไม่ทำพิธีขอจากนางตะเคียนแล้ว ก็มักจะถูกลงโทษให้เจ็บไข้ หรือมีอาการคลุ้มคลั่ง เป็นต้น



ส่วนในทางพฤกษศาสตร์นั้น ตะเคียน เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของเอเชียเขตร้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hopea odorata Roxb. อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย ได้แก่ ตะเคียนทอง, ตะเคียนใหญ่, แคน, โกกี้ เป็นต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงราว 20-40 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลดำและจะแตกเป็นสะเก็ด เมื่อต้นมีขนาดใหญ่ มีชันสีเหลืองตามรอยแตกของเปลือก เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคน ใบมน เนื้อใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ท้องใบมีตุ่มอยู่ตามง่ามเส้นใบ 

รูปภาพ

ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวแกมเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นรูปทรงกลม หรือรูปไข่ มีปีกยาวรูปใบพาย 2 ปีก และยังมีปีกสั้นอีก 3 ปีก ซึ่งปีกเหล่านี้มีหน้าที่ห่อหุ้มผล และนำพาผลปลิวไปตกได้ในที่ไกลๆ

ประโยชน์ของตะเคียนมีมากมาย ทั้งในด้านการทำเครื่องเรือนและสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน สมัยโบราณนิยมนำต้นตะเคียนมาทำเป็นเสาเอก ขุดเป็นเรือ ทำสะพาน ทำวงกบ ประตูหน้าต่าง หูกทอผ้า กังหันน้ำ กระโดงเรือ เพราะเนื้อไม้แข็ง เหนียว มีความสวยงาม ทนทาน ทนปลวกได้ดี ส่วนชันหรือยางไม้ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา ใช้ยาแนวเรือ 

สำหรับประโยชน์ในด้านสรรพคุณพืชสมุนไพรก็มีมากมาย ได้แก่ เปลือกใช้แก้ปวดฟัน, แก่นใช้แก้โลหิตและกำเดา รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ, เนื้อไม้ใช้แก้ท้องร่วง สมานแผล และยางใช้รักษาแผล แก้ท้องเสีย

รูปภาพ

ในอรรถกถาคาถาธรรมบท เรื่องครหทินน์ ได้กล่าวถึงไม้ตะเคียนไว้ว่า สิริคุตต์ซึ่งเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา และเป็นเพื่อนกับครหทินน์ ซึ่งเป็นสาวกของพวกนิครนถ์ เคยหลอกให้พวกนิครนห์ตกลงในหลุมคูถ (อุจจาระ) ทำให้ครหทินน์เจ็บใจมาก จึงคิดแก้แค้นพระพุทธเจ้าบ้าง โดยวางแผนนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าภิกษุมาฉันภัตตาหารที่บ้านตน 

ในขณะเดียวกันก็ให้คนในบ้านขุดหลุมใหญ่ไว้ในระหว่างเรือน 2 หลัง แล้วนำไม้ตะเคียนมาประมาณ 80 เล่มเกวียน ให้จุดไฟสุมตลอดคืนยันรุ่ง แล้วให้ทำกองถ่านเพลิงไม้ตะเคียนไว้ วางไม้เรียบบนปากหลุม ให้ปิดด้วยเสื่อ ลำแพน ลาดท่อนไม้ผุไว้ข้างหนึ่ง แล้วให้ทำทางเป็นที่เดินไป เพื่อที่ว่าในเวลาที่พระพุทธเจ้าและเหล่าภิกษุเหยียบท่อนไม้หักแล้ว ก็จะกลิ้งตกลงไปในหลุมถ่านเพลิง แต่พระพุทธเจ้าทรงล่วงรู้ถึงแผนการนี้

แต่ทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณว่าหากพระองค์เสด็จไปก็จะเกิดประโยชน์มากกว่า เพราะในที่นั้นจะมีผู้คนมาฟังธรรม และจะมีผู้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสิริคุตต์และครหทินน์ ก็จะบรรลุโสดาบันด้วย จึงได้เสด็จไป เมื่อไปถึงพระศาสดาทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลุมถ่านเพลิง เสื่อลำแพนหายไปแล้ว ดอกบัวประมาณเท่าล้อผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิง พระศาสดาทรงเหยียบกลีบบัว และเสด็จไปประทับนั่งลงบนอาสน์ที่ปูลาดไว้ รวมทั้งภิกษุทั้งหลายก็กระทำเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน ต้นตะเคียนทองเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดปัตตานี

รูปภาพ

โพธิญาณพฤกษาต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)

โพธิญาณพฤกษา ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)

รูปภาพ

• ต้นสาละอินเดียกับพระพุทธศาสนา • 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ต้นไม้ในพุทธประวัติ-สมอพิเภก``หรีตกะ``


ต้นไม้ในพุทธประวัติ-สมอพิเภก``หรีตกะ``

ต้นไม้ในพุทธประวัติ-สมอพิเภก วัดสระคล้าวนาราม


ต้นไม้ในพุทธประวัติ-ต้นพระศรีมหาโพธิ์



ต้นไม้ในพุทธประวัติ



ต้นไม้ในพุทธประวัติต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)


ต้นพระศรีมหาโพธิ์